เปิดรับสมัครหลักสูตรปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอกออนไลน์ ในยุค New Normal ภูเก็ต

Posted on Posted in 77จังหวัด
เรียนจบสร้างโอกาสก้าวหน้าในสายงาน
สร้างการเติบโตในสายอาชีพที่สนใจ

เปิดวิชั่นการศึกษาโทร.

โครงการพิเศษ หลักสูตรปริญญาตรี (B.B.A.) สถาบันรัชต์ภาคย์


สถาบันรัชต์ภาคย์เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนมีศักดิ์และสิทธิ์เทียบเท่ามหาวิทยาลัยของรัฐทุกประการ เปิดดำเนินการเรียนการสอน   ในสาขาวิชาต่างๆ มากว่า 20 ปี ได้แก่ บริหารธุรกิจ วิศวกรรมศาสตร์ การศึกษา ศิลปศาสตร์ และรัฐประศาสนศาสตร์   สถาบันรัชต์ภาคย์เน้นหนักวิชาการระดับสูง ทั้งระดับปริญญาตรี และปริญญาโท  มีจุดมุ่งหมายในการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ก้าวหน้าทันสมัยเป็นพลเมืองดีมีคุณธรรมสูงและมีความบริบูรณ์แห่งตน

หลักสูตรปริญญาตรี (B.B.A.)

มีวิชาที่น่าสนใจศึกษา 43 วิชา รวม 129 หน่วยกิต โดยแบ่งภาคการศึกษา (เทอม) ออกเป็น 6 ภาคการศึกษาปกติ กับอีก 1 ภาคฤดูร้อน (Summer) ใน 1 ภาคการศึกษา ลงทะเบียนได้ไม่เกิน 7 วิชา หรือ 21 หน่วยกิต ส่วนต้องเรียนวิชาอะไรบ้าง จะทราบจากคู่มือในวันสมัครเข้าศึกษา

รายวิชาที่ศึกษาในระดับปริญญาตรี (B.B.A.) มี 43 วิชา จำนวน 129 หน่วยกิต ประกอบด้วย

1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 4 หมวด รวม 33 หน่วยกิต
1.1 กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ 6 หน่วยกิต

BC 101 คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
SC 101 พื้นฐานวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม

1.2 กลุ่มวิชาภาษา 15 หน่วยกิต

ENGL 101 ภาษาอังกฤษ 1
ENGL 102 ภาษาอังกฤษ 2
ENGL 201 การอ่านภาษาอังกฤษ
ENGL 202 การเขียนภาษาอังกฤษ
THAI 101 การใช้ภาษาไทย

1.3 กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ 6 หน่วยกิต

LAW 101 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฏหมายธุรกิจ
SOC 255 จรรยาบรรณทางธุรกิจ

1.4 กลุ่มวิชามนุษย์ศาสตร์ 6 หน่วยกิต

HE 201 การพัฒนาสุขภาพ
RC 330 การพัฒนาศักยภาพในการเรียนรู้

2. หมวดวิชาเฉพาะด้าน ประกอบด้วย 3 หมวด รวม 90 หน่วยกิต
2.1 กลุ่มวิชาแกนธุรกิจ 54 หน่วยกิต (ลงทะเบียนให้ครบทุกวิชา)

AC 101 หลักบัญชีขั้นต้น 1
EC 101 หลักเศรษฐศษสตร์เบื้องต้น
BA 102 คณิตศาสตร์ธุรกิจ
BA 203 การภาษีอากร 1
BA 205 บรรษัทภิบาล และจรรยาบรรณธุรกิจ
BA 206 กฏหมายธุรกิจ
BA 207 ประชาคมอาเซียน
BA 301 วิจัยธุรกิจ
EC 201 หลักเศรษฐศาสตร์
BC 312 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
EL 221 ภาษาอังกฤษเชิงธุรกิจ
FN 221 การเงินธุรกิจ
IM 201 หลักเบื้องต้นการวิเคราะห์เชิงปริมาณ
IM 202 สถิติธุรกิจ
IM 213 การจัดการดำเนินงาน
MG 201 หลักการจัดการ
MG 427 การจัดการเชิงกลยุทธ์
MK 201 หลักการตลาด

2.2 กลุ่มวิชาเอกบังคับ 30 หน่วยกิต (ลงทะเบียนให้ครบทุกวิชา)

AC 202 การบัญชีเพื่อการจัดการ
MG 311 การวางแผนธุรกิจ
MG 312 พฤติกรรมองค์การ
MG 313 ภาวะการเป็นผู้นำ และการจูงใจ
MG 321 การสื่อสารธุรกิจ
MG 323 การจัดการแรงงานสัมพันธ์
MG 325 การจัดการโลจิสติกส์
MG 411 การจัดการโครงการ
MG 421 การควบคุมเพื่อการจัดการ
MG 426 สัมมนาการจัดการ

2.3 กลุ่มวิชาเลือก 6 หน่วยกิต

MG 322 การจัดการธุรกิจขนาดย่อม
MG 412 การจัดการค่าจ้าง เงินเดือน และสวัสดิการ

3. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต

SOC 112 สังคมกับการเป็นผู้นำ
SOC 101 เศรษฐกิจพอเพียง

รวมตลอดหลักสูตร เรียน 43 วิชา 129 หน่วยกิต

สถาบันรัชต์ภาคย์
RAJAPARK INSTITUTE

รับสมัครนักศึกษาเข้ารับการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอกออนไลน์ ในยุค New Normal


  • หลักสูตรปริญญาโท (M.B.A.)
  • หลักสูตรปริญญาตรี (B.B.A.)
  • ปริญญาตรีภาคพิเศษ

สนใจสมัครเรียน-สอบถามรายละเอียด

โทร. 086-328-5338 เบอร์เดียว

ทำไมต้องเลือกเรียนที่นี่

อยู่ที่ไหนก็เรียนได้ เรียนผ่านระบบออนไลน์
ส่งงาน การบ้านผ่านออนไลน์ ปรึกษาอาจารย์ผู้สอนได้ตลอดเวลา
กิจกรรม INTERACTIVE ในวิชาที่เรียน ได้แสดงออกวิเคราะห์ สังเคราะห์ ได้รับฟังการแชร์จากผู้ที่มีประสบการณ์จริงๆ เอาไปประยุกต์กับความรู้ที่เรียน

สนใจสมัครเรียน-สอบถามรายละเอียด

โทร. 086-328-5338
เบอร์เดียว

"สนใจสมัครเรียนโปรด Click ที่เมนูติดต่อเราหรือติดต่อสมัครโดยตรงที่ โทร. 086-328-5338 เบอร์เดียว"

สถาบันรัชต์ภาคย์
RAJAPARK INSTITUTE

รับสมัครนักศึกษาเข้ารับการศึกษาออนไลน์


  • หลักสูตรปริญญาโท (M.B.A.)
  • หลักสูตรปริญญาตรี (B.B.A.)
  • ปริญญาตรีภาคพิเศษ

สนใจสมัครเรียน-สอบถามรายละเอียด

โทร. 086-328-5338 เบอร์เดียว

ภูเก็ต เป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคใต้ของประเทศไทย และเป็นเกาะขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อยู่ในทะเลอันดามัน จังหวัดที่ใกล้เคียงทางทิศเหนือ คือ จังหวัดพังงา ทางทิศตะวันออก คือ จังหวัดพังงาและจังหวัดกระบี่ ทั้งเกาะล้อมรอบด้วยมหาสมุทรอินเดีย และยังมีเกาะที่อยู่ในอาณาเขตของจังหวัดภูเก็ตทางทิศใต้และตะวันออก การเดินทางเข้าสู่ภูเก็ตนอกจากทางเรือแล้ว สามารถเดินทางโดยรถยนต์ซึ่งมีเพียงเส้นทางเดียวผ่านทางจังหวัดพังงา โดยข้ามสะพานสารสินและสะพานคู่ขนาน คือ สะพานท้าวเทพกระษัตรีและสะพานท้าวศรีสุนทร เพื่อเข้าสู่ตัวจังหวัด และทางอากาศโดยมีท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ตรองรับ ท่าอากาศยานนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะ

คำว่า ภูเก็ต คาดว่าน่าจะเพี้ยนมาจากคำว่า บูกิต (ในภาษามลายูแปลว่าภูเขา) และคำว่า “ภูเขา” ในภาษาอุรักลาโว้ย เรียกว่า “บูเก๊ะ” หรือที่เคยรู้จักแต่โบราณในนาม เมืองถลาง

 

ประวัติ

เดิมคำว่าภูเก็ตนั้นสะกดว่า ภูเก็จ

ซึ่งแปลได้ว่า เมืองแก้ว จึงใช้ตราเป็นรูปภูเขา (ภู) มีประกายแก้ว (เก็จ) เปล่งออกเป็นรัศมี (ดูตราที่ผ้าผูกคอลูกเสือ) ตรงกับความหมายเดิมซึ่งชาวทมิฬเรียก มณิครัม ตามหลักฐาน พ.ศ. 1568 ภูเก็ตเป็นที่รู้จักของนักเดินเรือที่ใช้เส้นทางระหว่างจีนกับอินเดีย โดยผ่านแหลมมลายู หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดก็คือ หนังสือภูมิศาสตร์และแผนที่เดินเรือของคลอดิอุส ปโตเลมี เมื่อประมาณ พ.ศ. 700 กล่าวถึงการเดินทางจากแหลมสุวรรณภูมิลงมาจนถึงแหลมมลายู ซึ่งต้องผ่านแหลม จังซีลอน หรือเกาะภูเก็ต (เกาะถลาง) นั่นเอง

จากประวัติศาสตร์ไทย ภูเก็ตเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรตามพรลิงก์ อาณาจักรศรีวิชัย สืบต่อมาจนถึงสมัยอาณาจักรนครศรีธรรมราชเรียกเกาะภูเก็ตว่า เมืองตะกั่วถลาง เป็นเมืองที่ 11 ใน 12 เมืองนักษัตร โดยใช้ตราเป็นรูปสุนัข จนถึงสมัยสุโขทัย เมืองถลางไปขึ้นกับเมืองตะกั่วป่า ในสมัยอยุธยา ชาวฮอลันดา ชาวโปรตุเกส และชาวฝรั่งเศส ได้สร้างสถานที่เก็บสินค้าเพื่อรับซื้อแร่ดีบุกจากเมืองภูเก็ต (ถลาง)

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้เกิดสงครามเก้าทัพขึ้น พระเจ้าปดุง กษัตริย์ของประเทศพม่าในสมัยนั้น ได้ให้แม่ทัพยกทัพมาตีหัวเมืองปักษ์ใต้ เช่น ไชยา นครศรีธรรมราช และให้ยี่หวุ่นนำกำลังทัพเรือพล 3,000 คนเข้าตีเมืองตะกั่วป่า เมืองตะกั่วทุ่ง และเมืองถลาง ซึ่งขณะนั้นเจ้าเมืองถลาง (พญาพิมลอัยาขัน) เพิ่งถึงแก่อนิจกรรม ท่านผู้หญิงจัน ภรรยา และคุณมุก น้องสาว จึงรวบรวมกำลังต่อสู้กับพม่าจนชนะเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2328 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท่านผู้หญิงจันเป็น ท้าวเทพกระษัตรี และคุณมุกเป็นท้าวศรีสุนทร

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รวบรวมหัวเมืองชายทะเลตะวันตกตั้งเป็น มณฑลภูเก็ต และเมื่อปี พ.ศ. 2476 ได้ยกเลิกระบบมณฑลเทศาภิบาล เปลี่ยนมาเป็นจังหวัดภูเก็ต

 

ภาษาถิ่น

ภาษาถิ่นของจังหวัดภูเก็ต เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ ที่ไม่เหมือนถิ่นอื่นในภาคใต้ โดยจะมีสำเนียงภาษาจีนฮกเกี้ยน และภาษามลายูปนอยู่มาก ดังนั้นภาษาถิ่นภูเก็ตจึงมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว พบได้เฉพาะ แถบภูเก็ตและพังงา เท่านั้น ในอดีตนั้นชาวพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในภูเก็ตนั้น ส่วนใหญ่ล้วนเป็นชาวจีนอพยพมาจากมณฑลฮกเกี้ยน เมื่อเข้ามาอาศัยอยู่ในภูเก็ตแล้ว ก็ได้นำเอาวัฒนธรรมต่าง ๆ มากมายเข้ามาใช้ หนึ่งในนั้นก็คือ ภาษา ซึ่งในยุคแรก ๆ นั้นได้ติดต่อสื่อสารกันด้วยภาษาจีนฮกเกี้ยน ต่อมามีการค้าขายมากขึ้นต้องติดต่อกับต่างชาติมากขึ้น ชาวจีนฮกเกี้ยนบางส่วนก็ไปมาหาสู่กับปีนัง มาเลเซียบ้าง มีการค้าขายแร่ดีบุกต่าง ๆ มากขึ้น ทำให้ภาษามลายูเริ่มเข้ามาผสมปนเข้าด้วยกันกับภาษาฮกเกี้ยน ทำให้เกิดเป็นภาษาที่ผสมสำเนียงเข้าด้วยกัน เป็นภาษาที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในภูเก็ตและใกล้เคียง ภาษาฮกเกี้ยนในภูเก็ตนั้น ปัจจุบันยังคงมีใช้อยู่เพียงแต่สำเนียงอาจจะเพี้ยนไปจากภาษาฮกเกี้ยนเดิมบ้าง เพื่อปรับให้เข้ากับการออกเสียงของคนภูเก็ต ซึ่งใกล้เคียงกับภาษาฮกเกี้ยนที่ใช้กันในปีนัง มาเลเซีย หรือสิงคโปร์ เนื่องจากมีการปรับเสียงให้เข้ากับสัทอักษรการออกเสียงของคนภูเก็ต บางคำในภาษาฮกเกี้ยนจึงไม่เหมือนกันภาษาฮกเกี้ยนแท้ของจีน แต่ก็ใกล้เคียง นอกจากนี้ยังพบว่าระบบไวยากรณ์ที่ใช้นั้น บ้างก็ยืมมากจากภาษาฮกเกี้ยนด้วย ภาษาภูเก็ตบ้างก็เรียก ภาษาบาบ๋า

 

การปกครองแบ่งออกเป็น อำเภอ 17 ตำบล 104 หมู่บ้าน

อำเภอเมืองภูเก็ต
อำเภอกะทู้
อำเภอถลาง